วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

พาฟลอฟ ( Ivan Pavlov )


พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ (Learned behavior) เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นได้โดยอาศัยประสบการณ์หรือการเรียนรู้ของสัตว์ พฤติกรรมแบบส่วนนี้ส่วนใหญ่พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทที่เจริญดี แต่ในสัตว์ชั้นต่ำบางชนิดก็สามารถแสงดพฤติกรรมประเภทนี้ได้ พฤติกรรมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยออกเป็นแบบต่างๆได้ดังนี้
พฤติกรรมการเรียนรู้แบบแฮบบิชูเอชัน ( Habituation ) เป็นพฤติกรรมที่สัตว์หยุดตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม แม้จะยังได้รับการกระตุ้นอยู่ เนื่องจากสัตว์เรียนรู้แล้วว่าสิ่งเร้านั้นไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตของตัวเอง เช่น
- การที่นกลดอัตราการบินหนีหุ่นไล่กา
- การเลิกแหงนมองตามเสียงเครื่องบินของสุนัขที่อาศัยอยู่แถวสนามบิน

ภาพ สุนัขและหมีคุ้นเคยกับคน

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข ( Conditioning )
เป็นพฤติกรรมการตอบสนองสิ่งเร้าที่ไม่แท้จริงได้เช่นเดียวกับสิ่งเร้าที่แท้จริง เช่น
- การทดลองของ อีวาน พาฟลอฟ ( Ivan Pavlov ) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย เป็นการทดลองว่า สุนัขหลั่งน้ำลายเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง (สิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง)
1. ก่อนการเรียนรู้ ให้อาหาร (สิ่งเร้าที่แท้จริง) สุนัขน้ำลายไหล
2. ระหว่างการเรียนรู้ ให้อาหาร (สิ่งเร้าที่แท้จริง) สุนัขน้ำลายไหล พร้อมสั่นกระดิ่ง (สิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง)
3. หลังการเรียนรู้ สั่นกระดิ่ง (สิ่งเร้าที่ไม่แท้จริง) สุนัขน้ำลายไหล
- การฝึกสัตว์เลี้ยงที่บ้านให้แสนรู้ ฝึกสัตว์ไว้ใช้งาน ฝึกสัตว์แสดงละคร ล้วนมีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขทั้งสิ้น
ภาพ อีวาน พาฟลอฟ ( Ivan Pavlov )
ภาพ การทดลองพฤติกรรมการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไข



พฤติกรรมการเรียนรู้แบบฝังใจ ( Imprinting ) เป็นพฤติกรรมที่ตอบสนองสิ่งเร้าในช่วงแรกของชีวิตด้วยการจดจำสิ่งเร้าต่างๆได้ เช่น
- การที่สัตว์ต่างๆ เดินตามแม่ เพราะเป็นสิ่งแรกที่เห็นเมื่อเกิดมาคือแม่
- ตัวอ่อนของแมลงหวี่ที่ฟักออกมาจากไข่จะผูกพักกับกลิ่นของพืชที่แม่แมลงหวี่วางไข่ไว้ และเมื่อโตขึ้นเต็มวัยก็จะมาวางไข่บนพืชชนิดนั้น
- ปลาแซลมอนจะฝังใจต่อกลิ่นที่ได้สัมผัสเมื่อออกจากไข่ เมื่อโตขึ้นถึงช่วงวางไข่ก็จะว่ายทวนน้ำกลับไปวางไข่ยังบริเวณแหล่งน้ำจืดที่เคยฟักออกจากไข่
ภาพ:: ลูกเป็ดเดินตามแม่ตนเองตามธรรมชาติ



ภาพ:: การฝังใจของลูกสัตว์ที่คิดว่าคนคือพ่อแม่ของตนจึง
เดินตามพวกเขาตลอดเวลา

พฤติกรรมการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ( Trial and Error )
เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกโดยการให้สัตว์มีการทดลองก่อน โดยไม่รู้ว่าผลดีหรือไม่ ผลของการตอบสนองจะทำให้สัตว์เกิดการเรียนรู้ที่เลือกตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นผลดีหรือพอใจเท่านั้น
- การเดินในทางวกวนไปหาอาหารของหนู และหนูสามารถเดินทางไปหาอาหารและหาทางออกได้ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากที่ได้ทดลองเดินมาก่อน
- การเลือกทางเดินของไส้เดือนที่อยู่ในกล่องรูปตัว T โดยมีด้านหนึ่งที่มืดและชื้น กับอีกด้านหนึ่งที่มีกระแสไฟฟ้าอ่อนๆ ซึ่งไส้เดือนที่ผ่านการฝึกมาแล้ว จะสามารถเลือกทางที่ถูกต้องได้ถึงประมาณร้อยละ 90
- เด็กเอามือไปจับยากันยุงที่ร้อน เมื่อเกิดการเรียนรู้จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีก

       ภาพ การทดลองพฤติกรรมการลองถูกลองผิด



พฤติกรรมการเรียนรู้แบบใช้เหตุผล ( Reasoning ) เป็นพฤติกรรมที่แสงดออกโดยใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่ต้องทดลองทำ ซึ่งเป็นการใช้ประสบการณ์หลายอย่างในอดีตมาช่วยในการแก้ปัญหาสถานการณ์ใหม่ในครั้งแรก เช่น
- การทดลองของโคเลอร์ ( W. Kohler ) เกี่ยวกับการแก้ปัญหาของลิงชิมแพนซี
- การใช้เหตุผลของคนในการแก้ปัญหาต่างๆ
ภาพ พฤติกรรมการใช้เหตุผลของลิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น