วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555






กลุ่มที่1

ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์

ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์
(ค.ศ.1856-1939)
ประวัติของฟรอยด์
... • ซิกมันฟรอยด์ (ค.ศ.1856-1939) เป็นนักประสาทวิทยา
• ชาวออสเตรเลีย
• ผู้ก่อตั้งแนวคิดจิตวิเคราะห์
ประวัติ (ต่อ)
ฟรอยด์เกิดที่แคว้นโมราเวีย พออายุ3ขวบก็ย้ายไปอยู่เมืองเวียนนา เขาเข้าศึกษาที่สำนักการแพทย์มหาลัยเวียนนา ตอนอายุ17ปี เขาสนใจการศึกษาหลากหลายสาขา แต่เขาสนใจการวิจัยประสาทวิทยาเป็นหลัก
แนวคิด
เชื่อว่าเพศหรือกามารมณ์ เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาของมนุษย์
โครงสร้างของบุคลิกภาพ
1. สัญชาตญาณ (id)
2. อัตตา(ego)
3. อภิอัตตา(Superego)
ลำดับขั้นพัฒนาของ ฟรอยด์
1. ขั้นพึงพอใจทางปาก (Oral stage)
2. ขั้นพึงพอใจอยู่ที่ทวารหนัก (Anal stage )
3. ขั้นสนใจอวัยวะเพศของตน ( Phallic)
4. สติปัญญาและสังคม (Latency)
5. วัยรุ่น (Genital stage )
1.ขั้นพึงพอใจทางปาก
ตั้งแต่แรกเกิดถึงประมาณ 1-2 ปี เด็กจะชอบ ดูด กัด อม เช่น ดูดนม กัดแทะของเล่น ดูดนิ้ว เล่นน้ำลาย และทำเสียงต่าง ๆ
ถ้าถูกขัดขวางจะเกิด Oral fixation เมื่อโตขึ้นจะเกิดการพูดมาก ชอบนินทา ฯลฯ
2.ขั้นพึงพอใจอยู่ทีทวารหนัก
อยู่ในช่วงอายุ 2-3 ปี ระยะนี้เด็กจะพึงพอใจกับการขับถ่าย การฝึกการขับถ่ายควรทำค่อยเป็นค่อยไปด้วยความอ่อนโยนอย่าบังคับ ถ้าเกิดการติดตรึงจะทำให้ เป็นพวกชอบสะสมของ หวงของ ต่อต้านกฎระเบียบ
3.ขั้นสนใจอวัยวะเพศของตน
อยู่ระหว่าง 3-5 ปี เด็กจะมีความพึงพอใจกับการได้สัมผัสอวัยวะเพศของตนเองถ้าไม่ได้รับการตอบสนองจะเกิดความแปรปรวนทางเพศขึ้นในวัยผู้ใหญ่
ชาย = ปมออดิปุส หญิง = ปมอิ

4.ขั้นสติปัญญาและสังคม
อายุ 6 -12 ปี ระยะนี้จะเป็นระยะพักเด็กจะเริ่มแสวงหาบทบาทที่เหมาะสมให้กับตนเอง ชอบเล่นในกลุ่มเพศเดียวกัน เล่นกีฬา เล่นเกม และกิจกรรมต่าง ๆที่ต้องใช้สติปัญญา
5.วัยรุ่น
อายุตั้งแต่ 13 ปีขึ้นไป ถ้าเด็กผ่านขั้นอวัยวะเพศไปได้อย่างราบรื่น เด็กจะแสดงบทบาทความเป็นชายและหญิงตรงตามเพศของตน

จัดทำโดย
นางสาวนัสยารี หีมหมัน รหัสนักศึกษา 405410081
นางสาวปัทมา กูแดหวา รหัสนักศึกษา 405410097 นายสุเมธ หมาดรา รหัสนักศึกษา 405410105

เพียเจต์

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ประวัติของเพียเจต์
จอร์น เพียเจต์ (พ.ศ. 2439 - 2523) Jean Piaget (ค.ศ.1896 - 1980) ผู้สร้างทฤษฎีพัฒนาการเชาวน์ปัญญา 

ทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการเชาวน์ปัญญาที่ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์สำหรับครู คือ ทฤษฎีของนักจิตวิทยาชาวสวิส ชื่อ เพียเจต์ (Piaget) ที่จริงแล้วเพียเจต์ได้รับปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยNeuchatel ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ 
เพียเจต์ (Piaget) ได้ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการทางด้านความคิดของเด็กว่ามีขั้นตอนหรือกระบวนการอย่างไร ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก

ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ มีสาระสรุปได้ดังนี้ 

1) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.1 )1.1 ) 1/ >1.1ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

>1.2 ) ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
1. ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น 
2. ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน
> 1.3 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก หรือปริมาตรเท่าเดิม 1.4 ) ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้
ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์ สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
2. ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition) ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
3. ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย เช่น ปานกลาง น้อย
4. ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้ 
5. ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
6. ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน

2) ภาษาและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3) กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
3.1) การซึมซับหรือการดูดซึม (assimilation) เป็นกระบวนการทางสมองในการรับประสบการณ์ เรื่องราว และข้อมูลต่าง ๆ เข้ามาสะสมเก็บไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
3.2) การปรับและจัดระบบ (accommodation) คือ กระบวนการทางสมองในการปรับประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ใหม่ให้เข้ากันเป็นระบบหรือเครือข่ายทางปัญญาที่ตนสามารถเข้าใจได้ เกิดเป็นโครงสร้างทางปัญญาใหม่ขึ้น
3.3) การเกิดความสมดุล เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นจากขั้นของการปรับ หากการปรับเป็นไปอย่างผสมผสานกลมกลืนก็จะก่อให้เกิดสภาพที่มีความสมดุลขึ้น หากบุคคลไม่สามารถปรับประสบการณ์ใหม่และประสบการณ์เดิมให้เข้ากันได้ ก็จะเกิดภาวะความไม่สมดุลขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นในตัวบุคคล 

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
1. เมื่อทำงานกับนักเรียน ผู้สอนควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของนักเรียนดังต่อไปนี้
1 นักเรียนที่มีอายุเท่ากันอาจมีขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
ดังนั้นจึงไม่ควรเปรียบเทียบเด็ก ควรให้เด็กมีอิสระที่จะเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของเขาไปตามระดับพัฒนาการของเขา
2 นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์ 2 แบบคือ
ประสบการณ์ทางกายภาพ (physical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนแต่ละคนได้ปฏิสัมพันธ์กับวัตถุต่าง ในสภาพแวดล้อมโดยตรง
ประสบการณ์ทางตรรกศาสตร์ (Logicomathematical experiences) จะเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้พัฒนาโครงสร้างทางสติปัญญาให้ความคิดรวบยอดที่เป็นนามธรรม
2. หลักสูตรที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ ควรมีลักษณะดังต่อไปนี้คือ
2.1 เน้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนโดยต้องเน้นให้นักเรียนใช้ศักยภาพของตนเองให้มากที่สุด
2.2 เสนอการเรียนการเสนอที่ให้ผู้เรียนพบกับความแปลกใหม่
2.3 เน้นการเรียนรู้ต้องอาศัยกิจกรรมการค้นพบ
2.4 เน้นกิจกรรมการสำรวจและการเพิ่มขยายความคิดในระหว่างการเรียนการสอน
2.5 ใช้กิจกรรมขัดแย้ง (cognitive conflict activities) โดยการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นนอกเหนือจากความคิดเห็นของตนเอง

3. การสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนควรดำเนินการดังต่อไปนี้
3.1 ถามคำถามมากกว่าการให้คำตอบ
3.2 ครูผู้สอนควรจะพูดให้น้อยลง และฟังให้มากขึ้น
3.3 ควรให้เสรีภาพแก่นักเรียนที่จะเลือกเรียนกิจกรรมต่าง ๆ
3.4 เมื่อนักเรียนให้เหตุผลผิด ควรถามคำถามหรือจัดประสบการณ์ให้นักเรียนใหม่ เพื่อนักเรียนจะได้แก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตนเอง
3.5ชี้ระดับพัฒนาการทางสติปัญญาของนักเรียนจากงานพัฒนาการทางสติปัญญาขั้นนามธรรมหรือจากงานการอนุรักษ์ เพื่อดูว่านักเรียนคิดอย่างไร
3.6 ยอมรับความจริงที่ว่า นักเรียนแต่ละคนมีอัตราพัฒนาการทางสติปัญญาที่แตกต่างกัน
3.7 ผู้สอนต้องเข้าใจว่านักเรียนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในระดับความคิดขั้นต่อไป
3.8 ตระหนักว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเพราะจดจำมากกว่าที่จะเข้าใจ เป็นการเรียนรู้ที่ไม่แท้จริง (pseudo learning)
4. ในขั้นประเมินผล ควรดำเนินการสอนต่อไปนี้
4.1 มีการทดสอบแบบการให้เหตุผลของนักเรียน
4.2 พยายามให้นักเรียนแสดงเหตุผลในการตอนคำถามนั้น ๆ
4.3 ต้องช่วยเหลือนักเรียนทีมีพัฒนาการทางสติปัญญาต่ำกว่าเพื่อร่วมชั้น