วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
ทฤษฎีการเรียนรู้

 

 บรุนเนอร์ (Bruner) เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจและศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญาต่อเนื่องจากเพียเจต์ บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning) แนวคิดที่สำคัญ ๆ ของ

บรุนเนอร์ มีดังนี้ (Brunner,1963:1-54)


1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ

  1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
  2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
  3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
  • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
  • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
  • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
  • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน
  • การสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นสิ่งจำเป็นในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แก่ผู้เรียน
  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  • การสอนความคิดรวบยอดให้แก่ผู้เรียนเป็นสิ่งจำเป็น
  • การจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
    ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
    ทฤษฎีการเรียนรู้
     


    1) การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
    2) การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
    3) การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
    4) แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
    5) ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
    1. ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
    2. ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
    3. ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
    6) การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
    7) การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)

    การนำไปใช้ในการจัดการศึกษา / การสอน
    • กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ดีมีความหมายสำหรับผู้เรียน
    • การวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งที่จำเป็นที่ต้องทำก่อนการสอน
    • การจัดหลักสูตรแบบเกลียว (Spiral Curriculum) ช่วยให้สามารถสอนเนื้อหาหรือความคิดรวบยอดเดียวกันแก่ผู้เรียนทุกวัยได้ โดยต้องจัดเนื้อหาความคิดรวบยอดและวิธีสอนให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
    • ในการเรียนการสอนควรส่งเสริมให้ผู้เรียนได้คิดอย่างอิสระให้มากเพื่อช่วยส่งเสริมความ

วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura)

อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura)

อัลเบิร์ต แบนดูราเกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจากการศึกษากับเคนเนธ สเปนซี (Kenneth Spence) และรอเบิร์ต เซียร์ส (Robert Sears) หลังจากจบการศึกษาในปี 1952 แบนดูราเข้าฝึกงานที่ศูนย์แนะแนววิชิตา (Wichita Guidance Center) เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และทำงานที่นี่มาโดยตลอด แบนดูนาแตกต่างจากนักพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (radical behaviorist) จำนวนมาก เขามองว่าปัจจัยทางด้านการรู้คิด (cognitive factor) เป็นสาเหตุของพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยของเขาด้านทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจปฏิกิริยาระหว่างการรู้คิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม
งานของแบนดูราส่วนใหญ่มุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งความรู้ (acquisition) และการปรับเปลี่ยนลักษณะบุคลิกภาพของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือการดูตัวแบบ(modeling) ซึ่งเขาชื่อว่าการเรียนรู้รูปแบบนี้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตามมา ความรู้ที่ว่าเด็กเรียนรู้โดยการเลียนแบบผู้อื่นเป็นสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว แต่มีการวิจัยเพียงเล็กน้อยในเรื่องนี้ ก่อนที่นีล มิลเลอร์ (Neal Miller) และจอห์น ดอลลาร์ด (John Dollard) จะตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Social Learning and Imitation ออกมาในปี 1941
แบนดูราได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้สร้างพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มั่นคงในมโนทัศน์เรื่องการเรียนรู้โดยการดูตัวแบบ หรือการเลียนแบบ งานของเขา ซึ่งมุ่งเน้นเป็นพิเศษในเรื่องธรรมชาติของความก้าวร้าว เสนอว่าการดูตัวแบบแสดงบทบาทสำคัญในการกำหนดความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรม แบนดูราบอกว่าในทางปฏิบัติแล้ว อะไรก็ตามที่สามารถเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ตรง ก็สามารถเรียนรู้ได้จากการดูตัวแบบเช่นกัน ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบจะเกิดขึ้น ไม่ว่าผู้สังเกตหรือตัวแบบจะได้รับรางวัลจากการกระทำนั้นๆ หรือไม่ก็ตาม ซึ่งต่างจากรูปแบบการเรียนรู้ของนักพฤติกรรมนิยม เช่น อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov) หรือบี.เอฟ. สกินเนอร์ (B.F. Skinner) ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้จากการวางเงื่อนไขและการเสริมแรง
อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้โดยการดูตัวแบบก็แสดงให้เห็นว่า การลงโทษหรือการเสริมแรงสามารถส่งผลต่อสถานการณ์ของการเลียนแบบ เด็กจะพร้อมเลียนแบบผู้ที่ได้รับรางวัลมากกว่าผู้ที่ถูกลงโทษ ดังนั้น เด็กเรียนรู้ได้โดยที่ตนเองไม่ต้องได้รับรางวัลหรือการลงโทษ แนวคิดนี้มีชื่อว่า การเรียนรู้จากผู้อื่น (vicarious learning) เช่นเดียวกัน แบนดูราแสดงให้เห็นว่า เมื่อตัวแบบถูกเสนอด้วยสิ่งเร้าที่ต้องการวางเงื่อนไข ผู้ที่สังเกตเหตุการณ์นี้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมโดยตรง จะมีแนวโน้มที่จะถูกวางเงื่อนไขไปด้วย
แบนดูราพัฒนาการดูตัวแบบขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการบำบัด ซึ่งวางพื้นฐานอยู่บนงานวิจัยของเขา ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง โดยการพิจารณาและเลียนแบบพฤติกรรมของผู้บำบัด แม้ว่าตอนแรกการดูตัวแบบจะทำการศึกษาในกลุ่มเด็ก แต่พบว่าวิธีการนี้ก็ได้ผลในการรักษาโรคกลัวในผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ตอนแรกผู้ป่วยจะดูตัวแบบสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขากลัว ภายใต้สภาวะที่ไม่มีการคุกคาม จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับการสนับสนุนให้กระทำตามตัวแบบ และสถานการณ์จะเริ่มคุกคามมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งผู้ป่วยสามารถเผชิญหน้ากับสิ่งของหรือประสบการณ์ที่พวกเขากลัวได้ด้วยตนเอง
นอกจากนี้ แบนดูรายังให้ความสำคัญกับความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสัญลักษณ์ (symbolization) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูตัวแบบแบบผกผัน (inverse modeling) ในการใช้ความสามารถในเชิงสัญลักษณ์ คนเราจะสร้างตัวแบบภายใน (internal modeling) ขึ้นมา เพื่อเป็นสนามจำลองของการวางแผน การแก้ปัญหา และการใคร่ครวญ และแม้กระทั่งเอื้ออำนวยการสื่อสารกับผู้อื่น อีกแง่มุมหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่แบนดูราทำการสำรวจก็คือ self-regulatory activity หรือการที่มาตรฐานภายในส่งผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม เขาศึกษาผลของความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับตนเอง ต่อความคิด การเลือก ระดับแรงจูงใจ ความพากเพียร และความอ่อนไหวต่อความเครียดและความซึมเศร้า
แบนดูราแต่งหนังสือไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ Adolescent Aggression (1959), Social Learning and Personality (1963), Principles of Behavior Modification (1969), Aggression (1973), Social Learning Theory (1977), and Social Foundations of Thought and Action (1985) เป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีของออซูเบล


ทฤษฎีของออซูเบล
ออซูเบล (Ausubel , David 1963) เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยม
1.              ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" โดยเฉพาะ การเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน ในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำทฤษฎีของออซูเบล เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจทฤษฎีของออซูเบลบางครั้งเรียกว่า "Subsumption Theory"
2.  ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่า การที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณา ไตร่ตรอง การคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรม และควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้นจึงมี การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความสนใจเกี่ยวกับสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
3.   กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)กลุ่มพุทธิปัญญา ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์
4.  การเรียนรู้อย่างมีความหมายคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง (Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อนที่มีในโครงสร้างในสติปัญญาของผู้เรียนมาแล้วออซูเบลให้ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย( Mearningful learning) ว่า เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต ออซูเบลได้ชี้ให้เห็นว่าทฤษฎีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะอธิบายเกี่ยวกับพุทธิปัญญา
5.  ประเภทของการเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย
1. Subordinate learning
1.1 Deriveration Subsumptionเป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่กับหลักการหรือกฎเกณฑ์ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยการได้รับข้อมูลมาเพิ่ม เช่น มีคนบอก
1.2 Correlative subsumption
เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมายเกิดจากการขยายความ หรือปรับโครงสร้างทางสติปัญญาที่มีมาก่อนให้สัมพันธ์กับสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่
2. Superordinate learning
เป็นการเรียนรู้โดยการอนุมาน โดยการจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนใหม่เข้ากับความคิดรวบยอดที่กว้างและครอบคลุมความคิดยอดของสิ่งที่เรียนใหม่
3. Combinatorial learning
เป็นการเรียนรู้หลักการ กฎเกณฑ์ต่างๆเชิงผสม ในวิชาคณิตศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ โดยการใช้เหตุผล หรือการสังเกต
6.  เทคนิคการสอน
ออซูเบลได้เสนอแนะเกี่ยวกับ Advance organizer  เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมายจากการสอนหรือบรรยายของครู โดยการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ที่มีมาก่อนกับข้อมูลใหม่ หรือความคิดรวบยอดใหม่ ที่จะต้องเรียน จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายที่ไม่ต้องท่องจำ หลักการทั่วไปที่นำมาใช้ คือ
การจัด เรียบเรียง ข้อมูลข่าวสารที่ต้องการให้เรียนรู้ ออกเป็นหมวดหมู่
-   นำเสนอกรอบ หลักการกว้างๆ ก่อนที่จะให้เรียนรู้ในเรื่องใหม่
แบ่งบทเรียนเป็นหัวข้อที่สำคัญ และบอกให้ทราบเกี่ยวกับหัวข้อสำคัญ
7.   สรุปได้ว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Mearningful learning)
ออซูเบล เป็นทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา เน้นความสำคัญของผู้เรียน ออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้

ทฤษฎีการเรียนรู้เกสตัลท์



ทฤษฎีการเรียนรู้เกสตัลท์ 
       ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มเกสตัลท์ เกิดจากนักจิตวิทยาชาวเยอรมันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 โดยมีผู้นำกลุ่มแมกซ์  เวอร์ไธเมอร์ (Max Wertheimer) และลูกศิษย์ 3 คนได้แก่ วู้ลฟ์แกงค์  โคห์เลอร์ (Wolfgang Kohler) เคิร์ท  คอฟฟ์กา (Kurt  Koffka) และเคิร์ท  เลวิน (Kurt  Lawin) ทั้งกลุ่มมีแนวความคิดว่า การเรียนรู้เกิดจากการจัดประสบการณ์ทั้งหลายที่อยู่กระจัดกระจายให้มารวมกันเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาส่วนย่อยต่อไป
กฎการเรียนรู้
      หลักการเรียนรู้ของทฤษฎี กลุ่มเกสตัลท์เน้นการเรียนรู้ที่ส่วนรวมมากกว่าส่วนย่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นจากประสบการณ์และการเรียนรู้เกิดขึ้นจาก 2 ลักษณะคือ
1. การรับรู้ (Perception) เป็นการแปรความหมายจากการสัมผัสด้วยอวัยวะสัมผัสทั้ง 5 ส่วนคือ
หู ตา จมูก ลิ้นและผิวหนัง การรับรู้ทางสายตาจะประมาณร้อยละ 75 ของการรับรู้ทั้งหมด ดังนั้นกลุ่ม
ของเกสตัลท์จึงจัดระเบียบการรับรู้โดยแบ่งเป็นกฎ 5 ข้อ เรียกว่า กฎแห่งการจัดระเบียบ คือ
1.1 กฎแห่งความชัดเจน (Clearness) การเรียนรู้ที่ดีต้องมีความชัดเจนและแน่นอน เพราะผู้เรียนมีประสบการณ์เดิมแตกต่างกัน
1.2 กฎแห่งความคล้ายคลึง (Law of Similarity) เป็นการวางหลักการรับรู้ในสิ่งที่คล้ายคลึงกันเพื่อจะได้รู้ว่าสามารถจัดเข้ากลุ่มเดียวกัน
1.3 กฎแห่งความใกล้ชิด (Law of Proximity) เป็นการกล่างถึงว่าถ้าสิ่งใดหรือสถานการณ์ใดที่มีความใกล้ชิดกัน ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งนั้นไว้แบบเดียวกัน
1.4 กฎแห่งความต่อเนื่อง (Law of Continuity) สิ่งเร้าที่มีทิศทางในแนวเดียวกัน ซึ่งผู้เรียนจะรับรู้ว่าเป็นพวกเดียวกัน
2. การหยั่งเห็น (Insight) หมายถึง การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดการชำนาญ

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีแนวคิดของธอร์นไดค์

ทฤษฎีแนวคิดของธอร์นไดค์



ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike.1874-1949)
นักการศึกษาและจิตวิทยาชาวอเมริกาผู้ให้กำเนิดทฤษฎีแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ที่เชื่อในเรื่องของทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism Theory) ธอร์นไดค์ ได้ศึกษาเรื่อง การเรียนรู้ของสัตว์ และต่อมาได้กลายมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ทั่วไปโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นที่รู้จักกันดีในนามทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในเรื่องนี้ นอกจากธอร์นไดค์จะได้ย้ำในเรื่องการฝึกหัดดหรือการกระทำซ้ำแล้ว เขายังให้ความสำคัญของการให้รางวัลหรือการลงโทษ ความสำเร็จหรือความผิดหวังและความพอใจหรือความไม่พอใจแก่ผู้เรียนอย่างทัดเทียมกันด้วย ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ เน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus) กับการตอบสนอง (Response) ที่ชื่อว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ด้วยการที่มนุษย์หรือสัตว์ได้เลือกเอาปฏิกิริยาตอบสนองที่ถูกต้องนั้นมาเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างสิ่งเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง เรียกทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ว่า ทฤษฎีเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับตอบสนอง (S-R Bond Theory) หรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionisms Theory) จากการทดลองและแนวความคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ ดังกล่าวมาข้างต้น เขาได้เสนอกฎการเรียนรู้ที่สำคัญขึ้นมา 3 กฎ อันถือว่าเป็นหลักการเบื้องต้นที่นำไปสู่เทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอนกฎทั้ง 3 ได้แก่
1. กฎแห่งการฝึกหัดหรือการกระทำซ้ำ (The Law of Exercise or Repetition) ชี้ให้เห็นว่า การกระทำซ้ำหรือการฝึกหัดนี้ หากได้ทำบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จะทำให้การกระทำนั้น ๆ ถูกต้องสมบูรณ์และมั่นคง
2. กฎแห่งผล (The Law of Effect) เป็นกฎที่มีชื่อเสียงและได้รับความสนใจ
มากที่สุด ใจความสำคัญของกฎนี้ก็คือรางวัลหรือความสมหวัง จะช่วยส่งเสริมการแสดงพฤติกรรม
นั้นมากขึ้น แต่การทำโทษหรือความผิดหวังจะลดอาการแสดงพฤติกรรมนั้นลง
3. กฎแห่งความพร้อม (The Law of Readiness) กฎนี้หมายถึงความพร้อม
ของร่างกาย ในอันที่จะแสดงพฤติกรรมใด ๆ ออกมา

ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส

กลุ่มที่ 3 ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส


ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของ โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
( Havighurst’s Theory of Development task )



แนวคิดของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส 
                ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส   (Robert havighurst 1953-1972) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิตสัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป

ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนามี 3 อย่าง
1. วุฒิภาวะทางร่างกาย
2. ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3. ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัวและความทะเยอทะยานของแต่ละบุคคล
                3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural Readiness Approach)
                3.2 ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น (Guided Experience Approach)
การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ๆ คือ
1. พัฒนาการทางกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2. พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3. พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
                3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
                3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)
พัฒนาการตามวัยตามแนวความคิดของฮาวิคเฮอร์ท (Hovighurst) ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆได้ดังนี้
1. วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น (แรกเกิด- 6 ปี)
2. วัยเด็กตอนกลาง (6-18 ปี)
3. วัยรุ่น (12-18 ปี)
4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น (18-35 ปี)
5. วัยกลางคน (35-60 ปี)
6. วัยชรา (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป)

หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำไปประยุกต์ใช้
                สามารถสังเกตพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้

จิตวิทยาการเรียนรู้ : ฝึกหนู Skinner